? ??????????????Damask Floored? ????? ?? ???Rating: 5.0 (1 Rating)??0 Grabs Today. 924 Total Grabs. ??????
Preview?? | ??Get the Code?? ?? ?????Vintage Shoes? ????? ?? ???Rating: 4.0 (1 Rating)??0 Grabs Today. 730 Total Grabs. ??????Preview?? | ??Get the Code?? ?? ???????????? ????Easy In BLOGGER TEMPLATES AND TWITTER BACKGROUNDS ?

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

SONG


Happy Vampires โหลดเพลงแกรมมี่แบบไม่ยั้ง แค่เดือนละ 20 บาท Click ที่นี่เลย

ใบงานที่ 9

ผู้บริหารมืออาชีพ ยังเป็นคำที่ค่อนข้างใหม่สำหรับวงการศึกษาเพิ่มจะเริ่มเป็นที่กล่าวถึงมากขึ้นก็เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งในหมวด 7 ได้กำหนดไว้ว่า ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายกำหนด
แม้จะยังไม่มีใครให้คำจำกัดความไว้ที่ชัดเจนว่าผู้บริหารมืออาชีพทางการศึกษามีลักษณะอย่างไร แต่ในที่นี้หมายถึงผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและจัดการศึกษาทั้งในระดับสถานศึกษาและในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
โดยภาพรวม คำว่า “มืออาชีพ” หรือ “Professional” มีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. ต้องเป็นคนที่ยังชีพด้วยงานนั้น คือ ต้องมีรายได้หลักจากการงานในวิชาชีพที่ทำ และ
ทุ่มเทเวลาให้กับงานในอาชีพนั้นจริง ๆ
2. ต้องมีการศึกษาและอบรม เพื่อให้มีความรู้ มีศาสตร์ มีหลักการ มีทฤษฎี มีการวิจัยค้น
จนรู้ชัดและรู้จริง และมีการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
3. ต้องนำศาสตร์ไปใช้ในการบริหาร มีการฝึกฝนอย่างจริงจังในอาชีพนั้น ๆ จริง ๆ จน
เกิดความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ที่มากพอ
4. ต้องมีการรับรองมาตรฐานแห่งวิชาชีพ โดยมีการออกใบรับรองหรือใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล ทนายความ นักบัญชี สถาปนิก วิศวกร เป็นต้น ซึ่งในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ และการดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพดังกล่าว จะต้องใช้ผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเท่านั้น
5. ต้องมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ สำหรับยึดถือและปฏิบัติโดยเคร่งครัด
6. มีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพให้การรับรอง โดยการออกใบประกอบวิชาชีพ เพื่อ
ควบคุมกำกับดูแลคุณภาพ มาตรฐาน และจรรยาบรรณ รวมทั้งมีมาตรการลงโทษเมื่อมีการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

ใบงานที่ 8

1. สถิติ หมายถึง ตัวข้อมูลหรือจำนวนต่างๆที่ได้มาจากข้อมูล และหมายถึง วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ในการรวบรวมจัดระบบ สรุปนำเสนอ และวิเคราะห์ข้อมูลรวมถึงการลงสรุปอย่างเที่ยงตรง และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
2. ค่าเฉลี่ย คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดหารด้วยจำนวนคะแนน
มัธยฐาน คือ คะแนนตรงกลางที่แบ่งคะแนนอื่นๆออกเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆกัน
ฐานนิยม คือ ค่าที่ปรากฏบ่อยที่สุด หรือคะแนนที่มีความถี่มากที่สุด
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือรากที่สองของค่าเฉลี่ยของกำลังสองของค่าเบี่ยงเบน
ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม เป็นมาตราวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นค่าสถิติที่ใช้สำหรับเป็นตัวแทนของข้อมูลในกลุ่มหรือในเซ็ตนั้น
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นมาตราวัดการกระจาย เป็นสถิติที่ช่วยให้ทราบถึงระดับของการกระจายหรือการแปรผันของคะแนนในกลุ่มนั้น
3. ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง แตกต่างกัน คือ
ประชากร หมายถึง กลุ่มของคน สัตว์ สิ่งของ หรือค่าที่วัดมา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดในกลุ่มนั้น
กลุ่มตัวอย่าง หมายถึง กลุ่มสมาชิกส่วนหนึ่งของประชากร ที่ผู้วิจัยเลือกมาเป็นตัวแทน
4. มาตรานามบัญญัติ เป็นระดับการวัดที่ต่ำสุด เป็นการกำหนดตัวเลขแทนชื่อคน แทน คุณลักษณะต่างๆ แทนเหตุการณ์ หรือสิ่งต่างๆ เช่น เบอร์นักกีฬา เลขทะเบียนรถ การกำหนดให้ 0 แทนเพศชาย 1 แทนเพศหญิง
มาตราเรียงอันดับ เป็นการกำหนดตัวเลข หรือสัญลักษณ์ เพื่อชี้ถึงอันดับ
มาตราอันตรภาค มีศูนย์สมมุติ และมีหน่วยของการวัดที่เท่ากัน ได้แก่ การวัดอุณหภูมิ คะแนนการสอบ
มาตราอัตราส่วน มีศูนย์แท้ มีหน่วยของการวัดเท่ากัน เช่น การวัดความยาว ชั่งน้ำหนัก
5. ตัวแปร คือ คุณลักษณะหรือสภาวการณ์ต่างๆซึ่งแบ่งออกเป็นพวก หรือเป็นระดับ หรือมีค่าได้หลายค่า
ตัวแปรต้น เป็นตัวแปรที่ไม่ขึ้นกับตัวแปรตาม จะเป็นสาเหตุมีผลหรืออิทธิพลต่อตัวแปรตาม
ตัวแปรตาม เป็นตัวแปรที่สันนิษฐานว่าจะขึ้นอยู่กับ หรือแปรผันไปตามตัวแปรต้น
6. สมมุติฐาน Hypothesis คือ คำตอบสรุปของผลการวิจัยที่คาดการณ์หรือพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า เป็นข้อสันนิษฐานที่อาจเป็นความจริงมีเหตุผลเชื่อถือได้ว่าเป็นไปได้จริง แต่อาจเป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้
สมมุติฐานทางการวิจัยมี 2 ประเภท คือ สมมุติฐานหลัก และสมมุติฐานเลือก หรือเรียกว่าสมมุติฐานตรงข้าม
7. t-test กับ F- test ต่างกัน คือ
t-test ใช้ทดสอบนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของสองกลุ่ม
F- test ใช้ทดสอบนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างความแปรปรวนของสองกลุ่ม

ใบงานที่7

1.การใส่ปฏิทินในเวบบอร์ด - ค้นหาโค้ดปฏิทินจากเวบgoogleพิมพ์คำว่าcodeปฏิทิน - เลือกเวบที่เกี่ยวข้องเลือก รูปแบบปฏิทินที่ชอบแล้วcopycode - เปิดบล็อกของตนเองเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นคลิ๊ก ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget คลิ๊กในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกดบันทึก(save)เพื่อยืนยัน

2.การใส่นาฬิกา - ค้นหาโค้ดนาฬิกาจากเวบgoogleพิมพ์คำว่าcode นาฬิกา -เลือกเวบที่เกี่ยวข้องเลือกรูปแบบนาฬิกาที่ชอบแล้วcopycode - เปิดบล็อกของตนเองเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นคลิ๊ก ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget คลิ๊กในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกดบันทึก(save)เพื่อยืนยัน

3.การทำสไลด์ - เข้าwww.slide.com เพื่อสมัครสมาชิก- เข้าสู่ระบบ โดยการใส่ username และ password ที่ได้สมัครไปข้างต้น - เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วคลิ๊กสร้างการแสดงภาพสไลด์ จากนั้นไปที browse เพื่อเพิ่มรูปภาพที่ต้องการ ซึ่งภาพนี้อาจอยู่ในเครื่องคอมพวิเตอร์ของท่านหรือจากเวบที่ท่านทำการฝากรูปไว้ ทำการuploadรูป- ปรับตกแต่งให้สวยงามตามความต้องการโดยเลือกรูปแบบ หลากหลาย ขนาด เอ๊ฟเฟกต่างๆ ตามใจชอบ เมื่อเลือกได้ตามที่ต้องการ ให้บันทึก เพื่อรับรหัส code จากนั้น copy code ที่ได้ไปวางไว้ในส่วนของบทความใหม่ หรือใน Gadget ก็ได้. เสร็จแล้ว คลิ๊ก บันทึกเพื่อยืนยันเกร็ดเล็กๆน้อยๆ....หากท่านเข้าเวบwww.slide.comแล้วพบว่าเป็นภาษาอังกฤษ อย่างเพิ่งตกใจ ให้เลื่อนเม้าส์ไปด้านล่างจะมีเมนูให้ท่านเปลี่ยนภาษาได้ .....

4.การปรับแต่งสีในblog - เปิด blog ของตัวเอง เข้าไปในส่วนของ รูปแบบ จากนั้น คลิ๊ก แบบอักษรและสี สามารถเลือกปรับแต่งสี ในส่วนต่างๆของหน้า blog เมื่อเลือกเสร็จให้คลิ๊ก บันทึกการเปลี่ยนแปลงเพื่อยืนยันเกร็ดเล็กๆน้อยๆ หากท่านเปลี่ยน template ของบล็อก การปรับแต่งสีเป็นสิ่งสำคัญ5.การใส่เพลง -เข้าเวบhttp://happyvampires.gmember.com/home.php?1402 - เลือกเพลงที่ชื่นชอบ copy embed เพื่อนำ code ที่ได้ไปวางไว้ในบล็อกตนเอง- เข้าบล็อกตนเอง ไปวางในส่วนของบทความใหม่

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 6



Google

1. Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature. Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)
2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris
3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำ พวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature final fantasy +x
4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย
5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนดรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยว กับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF
6. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย "..." เช่น "Breath of fire IV"
7. Google สามารถแปลเวปภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเวป)
8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือ
Adobe Portable Document Format (pdf) Microsoft PowerPoint (ppt)
Adobe PostScript (ps) Microsoft Word (doc)
Lotus 1-2-3 (wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku) Microsoft Works (wks, wps, wdb)
Lotus WordPro (lwp) Microsoft Write (wri)
MacWrite (mw) Rich Text Format (rtf)
Microsoft Excel (xls) Text (ans, txt)
วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น "Chrono Cross" filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chrono Cross ที่เป็น PDF และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)
9. Google สามารถเก็บ Cached ของเวปที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเวปบางเวปที่อาจโดนลบไปแล้ว โดย ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)
10. Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะ ช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword
11. Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเวปนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ URL เช่น link:www.google.com และคุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้
12. Google สามารถค้นหาเวปที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเวปเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu
13. ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเวปที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้คุณเลย (link ไปเวปนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเวปมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย ใน Google ไทย
14. Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave Palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ
15. Google สามารถหาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์
first name (or first initial), last name, city (state is optional) phone number, including area code
first name (or first initial), last name, state last name, city, state
first name (or first initial), last name, area code last name, zip code
first name (or first initial), last name, zip code
แล้วแต่ว่าคุณจะใช้แบบไหน
16. Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com )
17. นอกจากนี้มันยังสามารถคำนวณเลขได้ด้วยนะครับ ลองใส่โจทย์เลขลงไปในช่อง Search ดูสิ เช่น 52869-8956 หรือ 562475+8422 แล้วกด enter ดู จริงๆ มันยังแปลงค่า เช่น จากไมล์เป็นกิโลเมตร หรือจากเซนติเมตรเป็นนิ้วได้ แค่ใส่ลงไป เช่น ใส่ว่า 130 miles to kilometer ก็จะได้ผลออกมาเป็นกิโลเมตร เป็นต้น
Search Engineที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่
http://www.sanook.com/
http://www.google.co.th/
http://www.google.com
http://www.yahoo.com/
http://www.msn.com/
http://www.live.com
http://www.baidu.com
http://www.ask.com
http://th.wikipedia.org/wiki/Google#.E0.B8.AD.E0.B9.89.E0.B8.B2.E0.B8.87.E0.B8.AD.E0.B8.B4.E0.B8.87

ใบงานที่ 4

การจัดการความรู้ กระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่ บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่างๆ ที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาองค์กร

สืบค้นจาก http://www.industry.go.th/km/Lists/KM/KM.aspx
ขั้นตอนการจัดการความรู้
1.การจัดการการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม
2.การสื่อสาร
3.กระบวนการและเครื่องมือ
4.การฝึกอบรมและการเรียนรู้
5.การวัดผล
6.การยกย่องชมเชยและให้รางวัลhttp://www.fisheries.go.th/it/itdof/index.php?option=com_content&task=view&id=27&Itemid=1
แหล่งข้อมูล คือ สถานที่ที่สามารถ ค้นคว้า สืบค้น เรียนรู้ ข้อมูลต่างๆแต่ละประเภทตามที่เราต้องการและอยู่ในรูปลักษณะที่ แตกต่างกันออกไป ตามที่แหล่งข้อมูลนั้นๆจะนำเสนออกมายิ่งในปัจจุบันจะมีรูปแบบในการนำเสนอ ที่หลากหลายมาก จนเราตามไม่ทันและมีข้อมูลมากมายมหาศาล ให้เราได้เรียนรู้ สืบค้น ค้นคว้า มาใช้ในการเรียนและงานต่างๆมากมาย
ตัวอย่างแหล่งข้อมูล ที่มีในปัจจุบัน
1. สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
2. ซีดี วีซีดี ดีวีดี วีดีโอ ภาพยนต์
3. สถานที่ต่างๆ ห้องสมุด โบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยว
4. เทคโนโลยีต่างๆ ทีวี วิทยุ ระบบอินเทอร์เน็ต ดาวเทียม
http://www.ketkwanchai.info/ebook2/f6.htm
ลักษณะหรือรูปแบบของเครือข่ายการเรียนรู้ไม่มีกฎเกณฑ์หรือหลักเกณฑ์ตายตัว ประชาชนต้องเรียนรู้จากกันและกัน จากความรู้ที่ได้จากที่อื่น แล้วขยายความรู้ให้ผู้อื่นทราบด้วย เป็นการช่วยให้เกิดการศึกษาที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของบุคคล
http://giftsykamon.blogspot.com/2007/09/blog-post_21.html
สารสนเทศ (Information) ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน (ไพโรจน์ คชชา, 2542)
http://tsl.tsu.ac.th/file.php/1/courseware/aa_2/lesson02/lesson2-1.htm

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
รหัสวิชา 1036301
สอนโดย ดร.ประกอบ ใจมั่น ,อาจารย์อภิชาต วัชรพันธุ์
ใบงานที่1 ให้อธิบายความหมายของคำต่อไปนี้
การจัดการ คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นๆ
นวัตกรรม คือ ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
เทคโนโลยีการศึกษาคือ ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา การพัฒนา และการประยุกต์วัสดุ เครื่องมือ วิธีการ เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
ข้อมูล หมายถึง ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการปรับแต่งหรือประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
สารสนเทศ คือ กลุ่มของข้อมูลที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการประมวนหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้ถูกตามกฎเกณฑ์ตามหลักความสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีประโยชน์และมีความหมายมากขึ้น
ระบบสารสนเทศ คือ กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งทำให้เป็นสารสนเทศ การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์
ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึงกระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งทำให้เป็นสารสนเทศ การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์นำมาใช้ในการจัดกระบวนการทางการศึกษา
การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
เครือข่าย คือ การรวมตัวกันของกลุ่ม องค์กร ต่าง ๆ เพื่อประสานงานและกระตุ้น ให้เกิดการพัฒนางาน โดยวิธีการวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การทำกิจกรรมร่วมกัน การขยายกิจกรรม การให้การสนับสนุนด้านวิชาการ เงินลงทุน หรืออื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนากลุ่ม องค์กรในเครือข่าย ให้มีความเข้มแข็ง ทั้งนี้ต้องมีผู้ประสานงาน รับผิดชอบ ร่วมกันของสมาชิกกลุ่ม องค์เครือข่าย และมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม เช่น เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เครือข่ายหมู่บ้าน กข.คจ.(แก้ไขปัญหาความยากจน)


เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) คือสิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น หรือประยุกต์ขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานที่ทันสมัยหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, วัสดุ , ระบบต่างๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อใช้ใน การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งทำให้เป็นสารสนเทศ และการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ รวมถึงกระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา คือ สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น หรือประยุกต์ขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานที่ทันสมัยหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, วัสดุ , ระบบต่างๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อใช้ใน การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งทำให้เป็นสารสนเทศ และการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ รวมถึงกระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร นำกระบวนการดังกล่าวมาใช้ในการจัดการศึกษา


นายเกียงศักดิ์ ปรีชา รหัสประจำตัว 5246701038
หลักสูตร ป.บัณฑิต(การบริหารการศึกษา)

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

งานชิ้นที่ 1

ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาล
สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 4 ตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ชื่อเรื่อง การบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ ( I-EMS : Integrated Educational Management System)
โดยใช้หลัก MSPA

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
การบริหารงานของโรงเรียนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการโรงเรียนให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 โดยตอบสนองนโยบายของรัฐบาล / กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสอดคล้องกับธรรมนูญและแผนกลยุทธ์ของโรงเรียน โดยดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม การจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และการบริการทางการศึกษาให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนท้องถิ่น
โรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาล นำแนวคิดเรื่องการบูรณาการในการบริหารการศึกษาโดยใช้นวัตกรรมในการบริหารดังต่อไปนี้คือ โดยนำหลัก MSPA เข้ามาใช้ในการบูรณาการการบริหารโรงเรียน อันได้แก่
การระดมทรัพยากร (Mobilization)
กลยุทธ์ (Strategy)
การมีส่วนร่วม (Participation)
ความเป็นอิสระ (Autonomy)
วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
เสริมสร้างคุณธรรม นำพาการปฏิรูปการศึกษา รักษาสิ่งแวดล้อ
เพียบพร้อมภูมิปัญญา ก้าวหน้าเทคโนโลยี
ยุทธศาสตร์ของโรงเรียน
1.ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.ส่งเสริมและปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นพัฒนาสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้สามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการเรียนรู้ สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
3.ส่งเสริมและพัฒนาการประกันคุณภาพทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษา และรับรองการประเมินจากภายนอก


บริบทของสถานศึกษา
1.เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สามารถรองรับสิทธิและโอกาสทางการศึกษาของประชาชนในท้องถิ่น
2.พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางการปฏิรูปทางการศึกษาที่ส่งผลต่อ คุณภาพ และคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน

โครงสร้างหน่วยงาน
โรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาล ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช 80210
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 มีเนื้อที่ 35 ไร่ ก่อตั้งวันที่ 16 มิถุนายน 2537 เปิดทำการ
เรียนการสอนช่วงชั้นที่ 3 – ช่วงชั้นที่ 4 มีจำนวนห้องเรียน 11 ห้อง มีนักเรียนทั้งหมด 240 คน มีครู 15 คน ลูกจ้าง
ประจำ 3 คน สภาพบรรยากาศและสภาพแวดล้อม ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มมักมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน บริเวณทั่วไปร่มรื้น

สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
สภาพการบริหารสถานศึกษาก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เป็นลักษณะของการบริหารโดยการควบคุมจากภายนอก ( External Control Management ) สถานศึกษามีอำนาจในการตัดสินใจเพียงเล็กน้อย บทบาทของสถานศึกษาจึงเป็นเพียงรับคำสั่งจากหน่วยงานส่วนกลาง ไม่มีอำนาจในการคิดริเริ่มพัฒนาการบริหารการศึกษาด้วยตนเองก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้มีความพยายามกระจายอำนาจการบริหารไปยัง สถานศึกษา โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะการบริหาร การจัดการเรียนการสอน แต่ก็สามารถดำเนินการได้ระดับหนึ่ง เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ ต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีผลบังคับใช้ ภารกิจที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ หาแนวทางกระจายอำนาจไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ โดยเฉพาะสถานศึกษา ต้องมีอิสระในการบริหารจัดการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องปรับเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่ใหม่หลายประการ เพื่อรองรับการบริหารสถานศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน โรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาลได้เตรียมความพร้อมในการบริหารสถานศึกษา เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในการบริหารสถานศึกษา โดยได้ใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษา มาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษา และหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งเป็นนโยบายและแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 โดยใช้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง (P-D-C-A) เป็นกระบวนการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนี้

วงจรคุณภาพเดมมิ่ง(P-D-C-A)

การวางแผน
(Plan)
การปฏิบัติตามแผน
(Do)
การปรับปรุง/การพัฒนา
(Action)
การนิเทศกำกับติดตามการปฏิบัติงาน
(Check)






การวางแผน (Plan)
ด้านการวางแผน (Plan) ได้มีการวางแผนกลยุทธ์ โดยใช้กระบวนการ SWOT Analysis
มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน สภาพแวดล้อมภายนอก จุดแข็ง และจุดอ่อนของโรงเรียน
และกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder)ของโรงเรียน อันได้แก่ ครู ตัวแทนนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้การดำเนินงานของโรงเรียนสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรที่รับช่วงต่อ
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาระยะปานกลาง จะกำหนดไว้ 3 ปีการศึกษา ในแต่ละปีการศึกษาจะกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan) ซึ่งได้มีการจัดทำโครงการ/กิจกรรม ให้สอดคล้องกับพันธกิจที่กำหนดไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์และวิสัยทัศน์ของการ
จัดการศึกษาตามที่ระบุไว้ร่วมกัน
การปฏิบัติตามแผน (Do)
สำหรับการปฏิบัติตามแผนของโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีนั้น หมายรวมถึง แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษาซึ่งได้มีการอนุมัติงบดำเนินการในแต่ละปี ผ่านคณะกรรมการสภานักเรียน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยงาน/โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ
จัดหมวดหมู่ออกเป็นฝ่าย/งาน และกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานเพื่อให้เกิดคุณภาพด้านผู้เรียน ด้านครูผู้สอน และด้านผู้บริหาร ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาชาติมีฝ่ายนโยบายและแผนงาน ทำหน้าที่กำกับติดตามการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ระยะเวลา และงบประมาณตามที่ได้รับจัดสรรตามแผนปฏิบัติการประจำปี
การนิเทศ กำกับติดตาม /ตรวจสอบการปฏิบัติงาน (Check)
โรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาล มีกระบวนการตรวจสอบ ทบทวนคุณภาพภายในของสถานศึกษา
โดยฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งแต่ละปีการศึกษาจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินภายใน โดยใช้รูปแบบของการประเมินไขว้หรือสลับหน่วยงาน ไขว้หรือสลับกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลในการพัฒนาปรับปรุงงานตามมุมมองที่หลากหลาย

การปรับปรุงพัฒนางาน (Action)
เมื่อมีการนิเทศ กำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ซึ่งถือเป็นการประเมินตนเองของ
สถานศึกษา ได้มีการจัดทำรายงาน เพื่อเสนอให้แต่ละฝ่าย/งาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
ได้นำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนางาน และวางแผนในการแก้ไขพัฒนาต่อไป




ผู้ให้ข้อมูล นายเกรียงศักดิ์ ปรีชา
หน่วยงานโรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาล
ณ วันที่ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2552

สรุปองค์ความรู้วิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศสัปดาห์ที่3

สรุปองค์ความรู้วิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
สัปดาห์ที่ 3วันที่ 21 พฤศจิกายน 2552
การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้
มี 2 ประเภท คือ- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม- ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
บทบาทใหม่ของการบริหารทุนมนุษย์
การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ต่างจากการบริหารทรัพยากรบุคคล ตรงที่เน้นความสำคัญของคุณค่าหรือมูลค่าของคนและสิ่งที่คนในองค์กรผลิตหรือสร้างขึ้นมา แต่ไม่ได้เน้นหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคล ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบของกระบวนวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล (Impact of People Management Practice) และความทุ่มเทพยายามของคนต่อความสำเร็จขององค์กร มืออาชีพหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลหมดความสำคัญ และอาจจะไม่จำเป็นต้องทำไป แต่อย่างไรหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่ต้องทำอย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และต้องมีการปรับบทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลเสียใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปข้อมูล DATA - ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประเมินผล - กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานสารสนเทศ (Information ) - ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว - ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมายความรู้ (Knowledge) ผลการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบ สร้างเป็นองค์ความรู้ความเฉลียวฉลาด (Wisdom) การนำเอาความรู้ต่างๆมาบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาต่างๆเชาว์ปัญญา (Intelligent) ผลการปรับแต่งและความจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไวรูปแบบการจัดการความรู้ ความรู้แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ - ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆวิธีการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้KM ไม่ทำไม่รู้ เรียนลัดและต่อยอดโมเดลปลาทู
“ โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ๑ . ส่วน “ หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “ เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “ หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “ คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “ คุณเอื้อ” และ “ คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ๒ . ส่วน “ ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “ คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “ คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “ คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม๓ . ส่วน “ หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “ คลังความรู้” หรือ “ ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “ เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “ หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไปKnowledge Vision Knowledge Assets Knowledge Sharing KVKSKA ส่วนหัว ส่วนตามองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า “ ทำ KM ไปเพื่ออะไร”


สรุปองค์ความรู้วิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
สัปดาห์ที่ 3วันที่ 21 พฤศจิกายน 2552
การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้
มี 2 ประเภท คือ- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม- ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
บทบาทใหม่ของการบริหารทุนมนุษย์
การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ต่างจากการบริหารทรัพยากรบุคคล ตรงที่เน้นความสำคัญของคุณค่าหรือมูลค่าของคนและสิ่งที่คนในองค์กรผลิตหรือสร้างขึ้นมา แต่ไม่ได้เน้นหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคล ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบของกระบวนวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล (Impact of People Management Practice) และความทุ่มเทพยายามของคนต่อความสำเร็จขององค์กร มืออาชีพหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลหมดความสำคัญ และอาจจะไม่จำเป็นต้องทำไป แต่อย่างไรหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่ต้องทำอย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และต้องมีการปรับบทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลเสียใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปข้อมูล DATA - ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประเมินผล - กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานสารสนเทศ (Information ) - ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว - ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมายความรู้ (Knowledge) ผลการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบ สร้างเป็นองค์ความรู้ความเฉลียวฉลาด (Wisdom) การนำเอาความรู้ต่างๆมาบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาต่างๆเชาว์ปัญญา (Intelligent) ผลการปรับแต่งและความจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไวรูปแบบการจัดการความรู้ ความรู้แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ - ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆวิธีการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้KM ไม่ทำไม่รู้ เรียนลัดและต่อยอดโมเดลปลาทู
“ โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ๑ . ส่วน “ หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “ เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “ หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “ คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “ คุณเอื้อ” และ “ คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ๒ . ส่วน “ ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “ คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “ คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “ คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม๓ . ส่วน “ หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “ คลังความรู้” หรือ “ ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “ เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “ หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไปKnowledge Vision Knowledge Assets Knowledge Sharing KVKSKA ส่วนหัว ส่วนตามองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า “ ทำ KM ไปเพื่ออะไร”

กระบวนการจัดการความรู้
1. กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้2. แสวงหาความรู้3. จัดเก็บ และศึกษาหาความรู้4. การสร้างความรู้5. การประมวลและกลั่นกรองความรู้6. การถ่ายโอนและกลั่นกรองความรู้7. การแบ่งความรู้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้1. การจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ2. การวิเคราะห์ความรู้ที่จับได้3. การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้4. การสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งานCoP(Community of Practice)ชุมชนนักปฏิบัติ คือ อะไร คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้- ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน- มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน- มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น- วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน- มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน- มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี-มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย- มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง- มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคมทำให้เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ในระดับที่ง่ายที่สุด ชุมชนนักปฏิบัติ คือ คนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกัน และต้องการที่จะแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน กลุ่มดังกล่าวมักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์การ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร และอาจจะมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกับผู้นำองค์กร ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกในหลายชุมชน ชุมชนนักปฏิบัติมีความสำคัญอย่างไร เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพอใจ และพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ คำว่า ปฏิบัติ หรือ practice ใน CoP ชี้จุดเน้นที่ การเรียนรู้ซึ่งได้รับจากการทำงาน เป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผล และไม่ได้ผล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ และความเข้าใจได้มากกว่าการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งมีสมาชิกจากต่างหน่วยงาน ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดีกว่า การสื่อสารตามโครงสร้างที่เป็นทางการ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนนักปฏิบัติอุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - ไม่พูด ไม่คุย - ไม่เปิด ไม่รับ - ไม่ปรับ ไม่เรียน - ไม่เพียร ไม่ทำคลังความรู้ (Knowledge Assets) ประกอบด้วย 3 ส่วน 1.เรื่องเล่าหรือคำพูดที่เร้าใจ + 2. การถอดบทเรียนที่ได้ + 3. แหล่งข้อมูลบุคคลอ้างอิง (Tacit Knowledge) (Explicit Knowledge) (References)ข้อควรระวังในการทำ KS - ให้ share "เรื่องเล่า" ไม่ใช่ share "ความคิด" - เป็น Storytelling ไม่ใช่ Problem-solving ไม่ใช่ Planning - share แล้วต้อง Learn และ Learn แล้วต้อง Lead (นำ) ...นำสู่การกระทำ ...นำสู่ภาพที่ต้องการ"ทุกความสำเร็จในองค์กร ย่อมมาจากกลยุทธ์การวางแผน การปฏิบัติ และการจัดการอย่างมืออาชีพ"









การจัดการความรู้บทบาทใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์1. ผู้ดูแลทุนมนุษย์ ( Human Capital Steward )2. ผู้ประสานสัมพันธ์ ( Knowledge Facilitator )3. ผู้อำนวยความรู้ ( Relationship Bulder )4. ผู้มีอาชีพที่เฉพาะ ( Raped Deployment Sepecidist )ความรู้คืออะไร1. Knowledge Capital เป็นต้นทุน องค์กร ทรัพยากรมนุษย์2. ความสามารถในการทำให้สารสนเทศ และข้อมูลมาเป็นการกระทำที่มีประสิทธิภาพได้3. ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ และความเชี่ยวชาญข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ความเฉลียวฉลาด และเชาว์ปัญญาข้อมูล ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานสารสนเทศ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมายความรู้ ผลจากการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบความคิด เกิดเป็นความรู้ และความเชี่ยวชาญความเฉลียวฉลาด การนำเอาความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อทำงานในสาขาต่างๆเชาว์ปัญญา ผลจากการปรับแต่งและจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไวรูปแบบของความรู้ประเภทของความรู้กับการจัดการรู้ความรู้อาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา การจัดการจะเน้นการเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบและตีความได้ เมื่อนำไปใช้จะเกิดความรู้ใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นใช้อ้างอิงต่อไปความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสม มายาวนาน เป็นภูมิปัญญา การจัดการความรู้แบบนี้ จะเน้นที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่ความรู้ใหม่ที่จะนำไปใช้งานต่อไปซึ่งในสภาพความเป็นจริง ความรู้ทั้ง 2 ประเภทเหล่านี้ มีการสับเปลี่ยนสภาพกันตลอดเวลา การจัดการความรู้ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความรู้เช่นโมเดลปลาทู การจัดการความรู้ในรูปแบบของ “โมเดลปลาทู” ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัวปลา หรือส่วนของเป้าหมายของการจัดการความรู้ (Knowledge Management Vision), ส่วนของตัวปลา หรือส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) และส่วนของหางปลา หรือตัวคลังความรู้ (Knowledge Assets)กระบวนการจัดการความรู้1. กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้2. แสวงหาความรู้3. จัดเก็บ และศึกษาหาความรู้4. การสร้างความรู้5. การประมวลและกลั่นกรองความรู้6. การถ่ายโอนและกลั่นกรองความรู้7. การแบ่งความรู้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้1. การจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ2. การวิเคราะห์ความรู้ที่จับได้3. การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้4. การสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งานสร้างระบบสารสนเทศจัดการเรียนรู้การจัดเก็บความรู้เป็นระบบการค้นหาและเรียกใช้ความรู้การให้ความรู้ร่วมกันและการกระจายความรู้ความรู้ที่ฝังอยู่ในคนCOP ย่อมาจาก Community of Practice หมายถึง ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่รวบรวมกลุ่มคนที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่ง Knowledge Assets : KA หรือ ขุมความรู้ ในเรื่องนั้น ๆ สำหรับคนในชุมชนเพื่อไปทดลองใช้ แล้วนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก อันส่งผลให้ความรู้นั้น ๆ ถูกยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการปฏิบัติ ประยุกต์ และปรับใช้ตามแต่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่หลากหลาย อันทำให้งานบรรลุผลดีขึ้นเรื่อย ๆCOP เป็น 1 ใน เครื่องมือของการจัดการความรู้ (KM Tools) ประเภท Non-Technical Tools สำหรับการดึงความรู้ประเภท Tacit Knowledge หรือ ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายในลักษณะที่สำคัญของ COP• กลุ่มคนที่รวมตัวกันโดยมีความสนใจและความปรารถนา (Passion) ร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (มี Knowledge Domain)• ปฏิสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม เป็นชุมชน (community) ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน• แลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้ร่วมกัน ต้อง Practice และสร้างฐานข้อมูล ความรู้ หรือแนวปฏิบัติประโยชน์ของ COPระยะสั้น• เวทีของการแก้ปัญหา ระดมสมอง• ได้แนวคิดที่หลากหลายจากกลุ่ม• ได้ข้อมูลมากขึ้นในการตัดสินใจ• หาทางออก/คำตอบที่รวดเร็ว• ลดระยะเวลา และการลงทุน• เกิดความร่วมมือ และการประสานงานระหว่างหน่วยงาน• ช่องทางในการเข้าหาผู้เชียวชาญ• ความมั่นใจในการเข้าถึงและแก้ปัญหา• ความผูกพันในกรเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม• ความสนุกที่ได้อยู่กับเพื่อนร่วมงาน• ได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่มีหลายสิ่งหลายอย่างคล้ายกัน รวมทั้งอาจกำลังเผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เมื่อได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จะทำให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาระยะยาว• เสริมสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์กร• เกิดความสามารถที่ไม่คาดการณ์ไว้• วิเคราะห์ความแตกต่างและตั้งเป้าหมายการปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ• แหล่งรวบรวมและเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ• เกิดโอกาสพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดด• เครือข่ายของกลุ่มวิชาชีพ• ชื่อเสียในวิชาชีพเพิ่มขึ้น• ได้รับผลตอบแทนจากการจ้างงานสูงขึ้น• รักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรได้• เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในองค์กร• ขับเคลื่อนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ลักษณะการทำ COP- แบบกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่- แบบเป็นทางการ (Public) - เปิดเผย และไม่เป็นทางการ (Private) - ส่วนตัว- แบบบนลงล่าง (Top Down) และรากหญ้า (Grass Root)- แบบแยกฝ่าย และคละฝ่าย- แบบคนในองค์กร-คนในองค์กร และคนในองค์กร-คนนอกองค์กร- แบบระหว่างคน-คน และระหว่างคน-สื่อ-คนKs ที่ดีต้องมีทั้ง Explicit และ TacitExplicit ต้องมีวิชาการ ทฤษฎี มาจากการสังเคราะห์วิจัยใช้สมอง เป็นกฎเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนที่ผ่านการพิสูจน์Tacit ภูมิปัญญา เคล็ดวิชา ปฏิบัติ ประสบการณ์ มากจากวิจารณญาณ เป็นเทคนิค เฉพาะตัว เป็นลูกเล่นของแต่ละคน คลังความรู้ที่ดี
เขียนโดย kalyarat5236
ป้ายกำกับ: การจัดการความรู้

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สารสนเทศ

ประวัตินายเกรียงศักดิ์ เด็กคอน บ้านอยู่ขนอม เชิญเพื่อนๆ ไปเที่ยวกันบ้างนะครับ