? ??????????????Damask Floored? ????? ?? ???Rating: 5.0 (1 Rating)??0 Grabs Today. 924 Total Grabs. ??????
Preview?? | ??Get the Code?? ?? ?????Vintage Shoes? ????? ?? ???Rating: 4.0 (1 Rating)??0 Grabs Today. 730 Total Grabs. ??????Preview?? | ??Get the Code?? ?? ???????????? ????Easy In BLOGGER TEMPLATES AND TWITTER BACKGROUNDS ?

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปัจฉิมนิเทศ

ใบงานที่ 14

เปรียบเทียบการได้รับประโยชน์จากการได้เรียน. Blogspot และ Gotoknow

ประโยชน์ของการได้เรียนการทำบล็อก
1.เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้
2.เป็นเครื่องมือช่วยในด้ารธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การเสนอตัวอย่างสินค้า การขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
3.เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านๆ นั้น เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน Blog ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
4.ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
5. การเข้า webside blogspot จะเข้าง่ายกว่า
6. blogspot มี background รูปแบบพื้นหลังให้เลือกหลากหลาย
7. blogspot จะมีลูกเล่นที่น่าสนใจ เช่น การทำวีดีโอ วิทยุ นาฬิกา ปฏิทิน เป็นต้น
8. รูปแบบของบล็อกน่าในใจ และน่าติดตาม
9. อ่านบันทึกแล้วสามารถแสดงความคิดเห็นได้ และเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนได้

ประโยชน์ของการได้เรียนทำ Gotoknow
1. ใช้เป็นที่เก็บรวบรวมความรู้ และสามารถใช้เป็นที่เก็บภาพและข้อมูลได้
2. สามารถเข้าไปอ่านบันทึกและแสดงความคิดเห็นได้
3. ในบล็อกสามารถทำ Link ให้กับเว็บไซต์ที่เราสนใจได้
4. บล็อกสามารถเปิดพร้อมกันหลาย ๆ หน้าต่างได้และสามารถแก้ไขบันทึก 2 บันทึกขึ้นไปพร้อมกันได้
5. การเขียนบันทึกใน word จะเอามาลงใน Gotoknow โดยตรง ตัวอักษรจะมีขนาดคงที่
6. ได้พบเพื่อนใหม่ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน
7. ภาพที่ใส่ในบันทึกจะคมชัดกว่า (ภาพเดียวกันที่ใส่) ใน Word
8. ระบบบล็อกของ GotoKnow สามารถตกแต่งรูปลักษณ์ได้สารพัด
9. การกรอกประวัติ gotoknow จะให้กรอกประวัติได้ครบถ้วนชัดเจน

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 13



โครงการพัฒนานักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
กิจกรรมศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
ภาคกลาง – ภาคอีสาน วันที่ 17 - 22 มกราคม 2553
การศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลหนองคาย สำหรับโรงเรียนอนุบาลหนองคายเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 2,002 คน 49 ห้องเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โทร 042-411051 www.anubannk.org

ผลงานของโรงเรียนอนุบาลหนองคาย
1. โรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษา
2. โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
3. โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4. โรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย
5. โรงเรียนวิถีพุทธ
6. โรงเรียนส่งเสริมสุภาพ
7. โรงเรียนดีศรีหนองคาย
ซึ่งในการเข้าเยี่ยมชมในครั้งนี้ผู้บริหารได้มาต้อนรับและทำการบรรยายถึงยุทธวิธีการบริหารโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ
แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมบริบทของประเทศลาว
ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ (ร้อยละ 60 ของชาวลาวทั้งหมด) ควบคู่ไปกับลัทธินับถือผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ส่วนชาวลาวที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก โดยศาสนาคริสต์ส่วนมากจะมีผู้นับถือเป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อ สายเวียดนาม ส่วนศาสนาอิสลามพบว่ามีการนับถือในหมู่ชนชาติส่วนน้อยจีนฮ่อที่อาศัยตามชาย แดนด้านติดกับประเทศพม่า และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสายเอเชียใต้ และจามในเวียงจันทน์การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของลาวคือผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น (ผ้าถุง) อาหารของคนลาว ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว ส้มตำ ไก่ย่าง เป็นต้น ชีวิตของคนลาวมีส่วนคล้ายคลึงกับประเทศไทยมากแต่ความเจริญก้าวหน้ายังล้า หลังกว่าประเทศไทย คนลาวมีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างเรียบง่ายและ คนลาวสามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 12


การใช้โปรแกรม SPSS
1. ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรม
คลิก Start -> All Programs -> SPSS for Windows -> SPSS 11.5 for Windows
หรือ Double Click ไอคอนบนหน้าจอ Windows
2. ส่วนประกอบหลักของ SPSS FOR WINDOWS
เมื่อเปิดโปรแกรมจะได้หน้าต่างที่มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้
-Title Bar บอกชื่อไฟล์ เช่น Untitled-SPSS Data Editor (หากเปิดครั้งแรก)
-Menu Bar คำสั่งการทำงาน
-Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร
-Cases ชุดของตัวแปร
-Variable กำหนดชื่อตัวแปร
-View Bar มีสองส่วน ได้แก่ Variable View (สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร) และ Data View (เพิ่มและแก้ไขตัวแปร)
-Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน
3. การป้อนข้อมูลจากหน้าจอData Editor
3.1 เปิด SPSS Data Editor โดยไปที่ File -> New -> Data
3.2 กำหนดชื่อและรายละเอียด จากหน้าจอ Variable View
3.3 ป้อนข้อมูล Data View
3.4 บันทึกข้อมูล File -> Save

ใบงานที่ 11

สวัสดีปีใหม่ครับ ท่านอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง
ข้าพเจ้านายเกรียงศักดิ์ ปรีชา รหัสประจำตัวนักศึกษา 5246701038 เป็นครูสอนที่โรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาล อำเภอขนอม
จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มาเรียนต่อ ป บัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช แห่งนี้ และได้เรียนวิชาการจัดการ
นวัตกรรมและสารสนเทศ ซึ่งท่านอาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์ เป็นผู้สอน ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ส่งข่าวสารมากขึ้น สามารถนำมาใช้ในการทำงานที่โรงเรียนได้มาก ทำให้รู้สึกว่าตนเองได้รับความรู้จากท่านอาจารย์มากและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ด้วย
อาจารย์มีความรู้ความสามารถมาก สอนและถ่ายทอดวิชาการแนวทางการทำงานต่างได้มากมาย และยังมีความเป็นกันเองกับศึกษา ท่านอาจารย์จะสอบถามปัญหาและแนะแนวทางในการทำงานได้ในทุกๆ เรื่อง นับว่าข้าพเจ้าได้รับความรู้รับประสปการณ์จากอาจาร์มากมายและเป็นประโยชน์กับหน้าที่การงานในอนาคตต่อไป
ด้วยความเคารพอย่างสูง
นายเกรียงศัดิ์ ปรีชา

ใบงานที่ 10



ประวัติ นายเกรียงศักดิ์ ปรีชา

ประวัติส่วนตัว ชื่อ นายเกรียงศักดิ์ ปรีชา
เกิดวันที่ 15 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2507 อายุ 45 ปี
สถานที่อยู่ปัจจุบัน 30/2 หมู่ 1 ต.ท้องเนียน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช

ประวัติการศึกษา - ระดับประถมศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านปากเสียว อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช

- ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนทุ่งสง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

- ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช

ประวัติการทำงาน
บรรจุแต่งตั้ง อาจารย์ 1 โรงเรียนสหมิตรพิทยาคม อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง ครู วิทยฐนะชำนาญการ โรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาล อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

SONG


Happy Vampires โหลดเพลงแกรมมี่แบบไม่ยั้ง แค่เดือนละ 20 บาท Click ที่นี่เลย